ทึ่ง! เจ้าหน้าที่กู้ภัย ช่วย ชาวคิวบา 3 คน หลัง ติดเกาะ 33 วัน

ทึ่ง! เจ้าหน้าที่กู้ภัย ช่วย ชาวคิวบา 3 คน หลัง ติดเกาะ 33 วัน

เจ้าหน้าที่กู้ภัยในประเทศสหรัฐอเมริกาได้เข้าช่วยเหลือชาวคิวบา จำนวน 3 คนที่ ติดเกาะ 33 วัน และอาศัยเนื้อหนูและมะพร้าวปะทังชีวิต เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ สำนักข่าว ABC รายงานว่าเจ้าหน้าที่กู้ภัยสหรัฐฯได้เข้าช่วยเหลือชาวคิวบาสามคนที่ติดอยู่บนเกาะระหว่างรัฐฟลอริดา กับประเทศคิวบา เป็นระยะเวลาร่วมเดือน

โดยผู้รอดชีวิตที่เป็นชาย 2 คน และ หญิงอีก 1 คนได้เล่าว่าเรือของพวกเขาล่มเนื่องจากกระแสน้ำที่รุนแรง 

ซึ่งทั้งสามได้ว่ายมายังเกาะดังกล่าว และพยายามเอาชีวิตรอบนเกาะร้างนาน 33 วัน ซึ่งพวกเขากล่าวว่าพวกเขาปะทังชีวิตด้วยการกินมะพร้าว เนื้อหอยสังค์ และ เนื้อหนู ก่อนที่พวกเขาจะได้รับการช่วยเหลือในเวลาต่อมา

นายร้อย ไรลีย์ บีชเชอร์ ได้เล่าว่าเขากำลังปฏิบัติภารกิจบินลาดตะเวน ก่อนที่เขาจะสังเกตเห็นธงสีขาวโบกไปมา ทำให้เขาตัดสินใจบินเข้าไปดู ก่อนจะเห็นชายสองคนโบกมือขอความช่วยเหลือกับเขา และนำไปสู่ภารกิจการช่วยเหลือในที่สุด

ซึ่งเจ้าหน้าที่กู้ภัยระบุว่ามันเป็นเรื่องที่น่าเหลิอเชื่อมาก ที่พวกเขาสามารถเอาชีวิตรอดได้นานขนาดนี้ พร้อมกล่าวว่าพวกเขาก็โชคดีที่มาติดอยู่บนเกาะที่มีมะพร้าว และมีอุณหภูมิพอเหมาะ

ยังไม่มีการยืนยันแน่ชัดว่าสาเหตุที่ทั้งสามติดอยู่บนเกาะเนื่องจากพวกเขาจะพยายามเดินทางเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย นอกจากนี้ยังไม่มีการยืนยันว่าจะส่งผู้ประสบเหตุทั้งสามกลับประเทศหรือไม่

ซึ่ง PETA ระบุอีกว่าพวกเขาได้ติดต่อสวนสัตว๋หลายแห่งในประเทศไทย เพื่อสอบถามว่าสวนสัตว์อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าใกล้กับสัตว์หรือไม่ และทาง PETA ชี้ว่าทางสวนสัตว์อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าใกล้กับสัตว์จริง และเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดระลอกใหม่

ในขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าโรคโควิดสามารถแพร่ระบาดจาก สัตว์ สู่ มนุษย์ ได้หรือไม่ อย่างไรก็ตามมีหลักฐานยืนยันแน่ชัดแล้วว่า สัตว์ สามารถติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 จากมนุษย์ได้

ไบเดน ออกมาประกาศว่า สหรัฐฯ คว่ำบาตร เมียนมา หลังเหตุรัฐประหาร เรียกร้องปล่อยตัว อองซานซูจี และ อดีตนายกฯ ที่ถูกควบคุมตัว

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ สำนักข่าว ชาแนลนิวส์เอเชีย รายงานว่า นาย โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯได้ออกมาประกาศคว่ำบาตรกองทัพเมียนมา หลังก่อเหตุรัฐประหารและจับกุมตัวนาง อองซานซูจี และ นาย วิน มินต์ อดีตประธานาธิบดีเมียนมา เมื่อช่วงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

โดยนายไบเดน ได้กล่าวว่าเขาได้สั่งตัดไม่ให้ทหารระดับสูงในกองทัพเมียนมาสามารถเข้าถึงสินทรัพย์มูลค่าเกือบ 30 หมื่นล้านบาท พร้อมยืนยันว่าทางการสหรัฐฯกำลังหารือเพิ่มเติมเพื่อสั่งใช้มาตรการคว่ำบาตรฉบับใหม่อีกด้วย

ผู้นำสหรัฐฯเรียกร้องให้กองทัพเมียนมาปล่อยตัวนาง อองซานซูจี และ นาย วินมินต์ รวมถึงผู้ชุมนุมคนอื่นๆที่ถูกกองทัพจับกุม พร้อมสั่งให้กองทัพต้องสละอำนาจ

ซึ่งประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ใช่ชาติแรกที่ใช้มาตรการกดดันทางการเมียนมา เพราะก่อนหน้านี้ นาง จาซินดา อาเดิร์น นายกรัฐมนตรีหญิงของนิวซีแลนด์ก็ได้ประกาศตัดความสัมพันธ์กับเมียนมาเช่นกัน

สถานการณ์การชุมนุมยังคงร้อนระอุอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ชุมนุมจำนวนมากยังคงออกมาชุมนุมในเมืองต่างๆเพื่อกดดันให้กองทัพคืนอำนาจให้ประชาชน ซึ่งจากการชุมนุมครั้งนี้ทำให้เจ้าหน้าที่ได้ใช้แก๊สน้ำตา ยิงกระสุนยาง และฉีดน้ำเพื่อสลายการชุมนุม อย่างไรก็ตามมีรายงานว่าผู้ชุมนุมถูกกระสุนยิงสองราย ซึ่งหนึ่งในผู้ชุมนุมที่ถูกกระสุนยิงจริงที่ศีรษะได้รับบาดเจ็บสาหัส

แอฟริกาใต้ ล้มแผนฉีดวัคซีน แอสตราเซเนกา

แอฟริกาใต้ ประกาศ ล้มแผนฉีดวัคซีน แอสตราเซเนกา ในสัปดาห์หน้า เตรียมสลับมาใช้วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสันในสัปดาห์หน้าแทน

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ สำนักข่าว อัลจาซีรา รายงานว่า ทางการแอฟริกาใต้ได้ล้มเลิกแผนที่จะฉีดวัคซีน แอสตราเซเนกา วัคซีนต้านโควิด ในสัปดาห์หน้า หลังจากผลวิจัยแสดงออกมาว่า วัคซีนชนิดดังกล่าวมีประสิทธิที่น้อยนิดกับโควิดกลายพันธ์เชื้อสายแอฟริกาใต้ที่แพร่ระบาดในประเทศอย่างหนัก

นายซเวลี เอ็มคีเซ รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขในประเทศแอฟริกาใต้ได้กล่าวว่าทางการจะฉีดวัคซีนจากบริษัท จอห์นสันแอนด์จอห์นสันกับให้กับแพทย์แถวหน้าแทน อย่างไรก็ตามวัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสันยังอยู่ในช่วงทดลองระดับประเทศ และยังไม่มีชาติใดอนุมัติวัคซีนดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม นายเอ็มคีเซ มั่นใจว่าวัคซีนชนิดนี้ปลอดภัย โดยวัดจากผลทดลองกับอาสาสมัคร 44,000 คนในประเทศแอฟริกาใต้ สหรัฐอเมริกา และแถบลาตินอเมริกา พร้อมชี้ว่าวัคซีนชนิดนี้สามารถใช้ได้ผลดีกับโควิดกลายพันธุ์เชื้อสายแอฟริกาใต้

คาดว่าหลังจากนี้ทางการแอฟริกาใต้น่าจะใช้วัคซีน ไฟเซอร์, สปุตนิก ไฟว์ และ ซิโนฟาร์ม ในการต่อสู้กับโรคโควิด-19 ต่อไปในอนาคต

Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่า